รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและบริษัท เมดโทรนิค (ประเทศไทย) จำกัด ได้ประสานความร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรมองค์ความรู้ทางด้านการแพทย์ผ่านแพลตฟอร์ม MDCU MedUMore เพื่อเพิ่มศักยภาพและประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งดำเนินการสร้างระบบ Metaverse ด้วยงบประมาณ 20 ล้านบาท เพื่อเป็นการบริการด้านการศึกษา ตามสโลแกนที่ว่า“โลกมีปัญหา จุฬามีคำตอบ”
รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ กล่าวว่า คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีเป้าหมายร่วมกันที่จะเป็นสถาบันต้นแบบทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานในระดับสากล และอีกหนึ่งโจทย์สำคัญคือการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงแหล่งความรู้ ซึ่งเห็นได้ว่าในปัจจุบันการเข้าถึงแหล่งความรู้ไม่ได้จำกัดอยู่ในเฉพาะห้องเรียนหรือห้องสมุด แต่คลังความรู้ในยุคปัจจุบันที่สำคัญและเข้าถึงง่ายที่สุดคือคลังความรู้ออนไลน์ โดยทางคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้มุ่งมั่นสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทางการแพทย์ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ มาเป็นตัวช่วยในการรักษาผู้ป่วยให้ได้รับบริการที่มีคุณภาพและสะดวกยิ่งขึ้น
การเรียนรู้ในปัจจุบัน แพทย์ รวมทั้งนิสิตนักศึกษาแพทย์ จะต้องเรียนรู้และศึกษาอย่างต่อเนื่อง บุคลากรทางการแพทย์ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้ตลอดเวลา เพื่อให้ก้าวทันต่อนวัตกรรมและความทันสมัยของข้อมูลการรักษาหรือข้อมูลทั่วไปของวงการทางการแพทย์ ดังนั้น คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ จึงได้สร้าง Online learning platform ในชื่อ “MDCU MedUMore” ขึ้นมา เพื่อตอบโจทย์และตอบสนองโลกแห่งการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว พร้อมข้อมูลที่ครอบคลุม สามารถเรียนรู้และเข้าถึงได้จากทุกที่บนโลกนี้
หลักสูตรบทเรียน Introduction course for Thrombectomy treatment in Acute Ischemic Stroke จะถูกถ่ายทอดสู่แพลตฟอร์ม MDCU MedUMore สำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการเพิ่มมิติในการเรียนรู้ สามารถเข้าเรียนได้ผ่านระบบรองรับ Virtual Reality (VR) ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเห็นภาพเสมือนจริง และผู้เรียนได้สัมผัสประสบการณ์การเรียนรู้ทางการแพทย์อย่างไร้ขีดจำกัด ทั้งนี้ MDCU MedUMore ถือเป็นแพลตฟอร์มที่รวบรวมองค์ความรู้ทางการแพทย์อย่างครบถ้วน ทุกมิติทางการเรียนรู้และทันสมัย รวมถึงเนื้อหาเพื่อการพัฒนาตนเอง ที่สามารถเข้าถึงและเข้าใจได้โดยง่าย มีองค์ความรู้ทางการแพทย์ที่รองรับสำหรับแพทย์ พยาบาล เภสัชกร บุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงภาคประชาชนทั่วไปคุณรานีวรรณ รามศิริ Vice President and Managing Director Thailand บริษัท เมดโทรนิค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เมดโทรนิคเป็นหนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีการแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เรามีความมุ่งมั่น ในการพัฒนาความล้าหลังทางด้านสุขภาพ ในการบรรเทาความเจ็บปวดจากโรคภัยต่าง ๆ พร้อมทั้งส่งเสริมให้ประชากรทุกคนมีสุขภาพที่ดีและมีชีวิตที่ยืนยาว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เมดโทรนิคได้ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมานานกว่า 20 ปี เราเป็นผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ โดยมีพนักงานมากกว่า 90,000 คนทั่วโลก เพื่อช่วยนำเทคโนโลยีสุขภาพระดับโลก ส่งให้ถึงมือของบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อใช้ในการรักษาคนไข้ในประเทศไทย ด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ การรักษาที่มีประสิทธิภาพ และบริการที่ดีที่สุด ใน 4 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่
1. Cardiovascular Essential
2. Cardiac Rhythm Management & Diagnostics service
3. Surgical Innovations
4. NeuroScience & Emerging Business
ตั้งแต่ปี 2544 บริษัทฯ มุ่งที่จะทำงานร่วมกับภาครัฐและผู้ให้บริการด้านสุขภาพในทุกภาคส่วนผ่านหลากหลายโครงการความร่วมมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำทางการด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาของระบบสาธารณสุขของประเทศไทยให้อยู่ในระดับสากล และในปี พ.ศ. 2565 นี้ เมดโทรนิค (ประเทศไทย) มีเป้าหมายในการร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการร่วมกันพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ MDCU MedUMore เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและการเข้าถึงการเรียนรู้สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ โดยเริ่มความความมือกับ ศ.พญ.นิจศรี ชาญณรงค์ รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ผศ.นพ.จาตุรนต์ ตันติวัตนะ หัวหน้าภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ อ.นพ.วสันต์ อัครธนวัฒน์ ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ในการจัดทำหลักสูตรบทเรียน Introduction course for Thrombectomy treatment in Acute Ischemic Stroke โดยการเรียนรู้ด้วย VR เพื่อให้ผู้เรียนได้สัมผัสและได้รับประสบการณ์เสมือนจริงในการเรียนรู้โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ซึ่งเป็นโรคที่มีความสำคัญและเป็นอันตรายต่อชีวิตผู้ป่วยอย่างยิ่ง ปัจจุบันหัตถการ thrombectomy ถือเป็นนวัตกรรมการรักษา ที่มีความสำคัญในการช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีประสิทธิภาพสูง เป็นหัตถการที่ได้รับการส่งเสริมจากทางภาครัฐในการเบิกจ่ายอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นในการทำหัตถการ และเราเล็งเห็นถึงความจำเป็นที่บุคลากรทางการแพทย์จำเป็นที่จะต้องมีทักษะในการใช้เครื่องมือเพื่อให้ผลการรักษาได้ผลลัพธ์ดีที่สุด เรามีความภูมิใจที่จะนำเสนอรูปแบบการเรียนรู้ที่จะช่วยพัฒนาทักษะการทำหัตถการและการใช้เครื่องมือให้มีประสิทธิภาพสูงสุดผ่านระบบ Virtual Reality (VR) ที่จะมอบประสบการณ์ที่แปลกใหม่ในการเรียนรู้ และเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการอบรมที่มีคุณภาพของคณาจารย์จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ที่อยู่ห่างไกล ให้สามารถเรียนรู้ได้เสมือนอบรมที่ศูนย์การเรียนรู้ ทั้งนี้ยังมองเห็นโอกาสในการต่อยอดความร่วมมือในครั้งนี้ เพื่อพัฒนาหัตถการทางการแพทย์ที่สำคัญอื่น ๆ ในอนาคต
ทางบริษัทฯ มีความยินดี และพร้อมจะสนับสนุนโครงการความร่วมมือ ในการพัฒนาองค์ความรู้ลักษณะนี้กับทุกสถาบัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย ทั้งทางด้านการศึกษา การแพทย์และสังคมไทย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการพัฒนาระบบสาธารณสุขไทยแบบยั่งยืน และเพิ่มการเข้าถึงเทคโนโลยีสุขภาพของประชาชนไทยได้มากขึ้นในอนาคตศ.พญ.นิจศรี ชาญณรงค์ รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะอดีตหัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน หรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ซึ่งเป็นสาเหตุของความพิการระยะยาว และการเสียชีวิตของประชากรจำนวนมาก จากข้อมูลขององค์กรโรคหลอดเลือดสมองโลก (World Stroke Organization) ล่าสุด พบว่า มีผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองทั่วโลกกว่า 80 ล้านคน โดยผู้เสียชีวิตประมาณ 5.5 ล้านคนต่อปี และยังพบผู้ป่วยใหม่ถึง 14.5 ล้านคนต่อปี นอกจากนี้ยังได้ประมาณการความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในประชากรโลกพบว่า ทุก ๆ 4 คน จะป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง 1 คน ซึ่งร้อยละ 80 ของประกรโลกที่มีความเสี่ยง สามารถป้องกันได้ สำหรับในประเทศไทยโรคหลอดเลือดสมองโลกเป็นโรคทางระบบประสาทที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุของความพิการและเสียชีวิตอันดับ 1ศ.พญ.นิจศรี กล่าวว่า สำหรับการรักษาโรคหลอดเลือดสมองในปัจจุบัน มีเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพของขึ้น โดยการใส่อุปกรณ์ผ่านสายสวนหลอดเลือดเพื่อไปนำลิ่มเลือดที่อุดตันออกจากหลอดเลือดสมอง แพทย์จะทำหัตถการสอดใส่สายสวนเข้าไปทางหลอดเลือดแดง ผ่านบริเวณขาหนีบจนไปถึงตำแหน่งที่อุดตัน และนำเอาลิ่มเลือดที่อุดตันตามหลอดเลือดออกมา ซึ่งพบว่าผู้ป่วยใช้เวลาพักฟื้นที่โรงพยาบาลเพียงไม่กี่วันก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ แต่อย่างไรก็ตามหัวใจสำคัญในการรักษาโรคหลอดเลือดสมองคือ “เวลา” ดังนั้นยิ่งผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาได้เร็วเพียงใด ยิ่งจะทำให้การรักษาโรคหลอดเลือดสมองมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น โดยผ่านความร่วมมือของบุคลากรหลาย ๆ ฝ่าย
โดยปัจจุบันการรักษานี้ยังไม่แพร่หลายนัก ด้วยข้อจำกัดต่าง ๆ ได้แก่ จำนวนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญที่ยังมีจำกัด หรือ โรงพยาบาลที่มีความสามารถและความพร้อมที่เพียงพอ โดยคาดว่าหลักสูตร Introduction course for Thrombectomy treatment in Acute Ischemic Stroke บนแพลนฟอร์ม MDCU MedUMore จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งบุคลากรทางการ แพทย์ฝ่ายต่าง ๆ ที่สนใจศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการรักษาโรคหลอดเลือดสมองสามารถใช้ในการทบทวนองค์ ความรู้และความเข้าใจในเบื้องต้น เพื่อพัฒนาความสามารถในการให้บริการ เสริมความพร้อมของโรงพยาบาลในการเริ่มต้นทำหัตถการ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษา หรือการนำความรู้ไปอธิบายคนไข้และคนใกล้ชิด
ทั้งนี้ ภายในงาน ผศ.(พิเศษ) นพ.สุรินทร์ อัศววิทูรทิพย์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้นำเสนอวิธีการเข้าเรียนในหลักสูตรบทเรียน Introduction course for Thrombectomy treatment in Acute Ischemic Stroke ผ่านแพลตฟอร์ม MDCU MedUMore และเชิญชวนทุกท่านที่สนใจสัมผัสประสบการณ์การเรียนรู้เสมือนจริง ลงทะเบียนและขอรับบริการได้ผ่านแพลตฟอร์ม MDCU MedUMore
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น