ปัจจุบันพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คนส่วนใหญ่ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด แม้กระทั่งในคนอายุน้อยก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นจากการกินอาหารหวานจัด มันจัด อาหารแปรรูป การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ตลอดจนความเครียดสะสมและการพักผ่อนไม่เพียงพอ หรืออาจมีประวัติโรคทางพันธุกรรมที่มาจากครอบครัว เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ฯลฯ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้คนในวัยทำงานส่วนใหญ่มีความเสี่ยงกันเกือบทุกคน
พานาซี เมดิคอล เซ็นเตอร์ เอกมัย จึงจัดงาน : การจัดงานบรรยายพิเศษ HEALTH SYMPOSIUM ทางรอดของวิกฤติโรคหลอดเลือด ขึ้นเพื่อให้ความรู้ในการป้องกันและรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง โดยมีนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจและหลอดเลือดจาก พานาซี อาทิ นพ. พีรพัฒน์ ต่างใจ และ นพ.สุจิตร์ บัญญัติปิยพจน์ มาร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้และความเข้าใจ เพื่อรู้เท่าทันและป้องกันการเกิดของ โรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง โดยมีผู้แขกผู้มีเกียรติให้ความสนใจเข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง อาทิ ดร. สมศักดิ ชลาชล,คุณธนภรณ์ เวชสุภาพร,คุณคณีพงษ์ แดนวงศ์ ,คุณวนิดา เปรื่องเปรมจิตร ,คุณสิริมา ศรีวิกรม์,คุณสลิล ล่ำซำ,คุณมาร์ค ธาวิน,คุณเป็ด ดร.สุภี -คุณเจตนา พงษ์พานิช , คุณมิ้น พัศญา จิรมณีกุล,คุณธีรธัช โปษยานนท์(ผู้เคยใช้สเต็มเซลล์จากเลือดตัวเองมารักษาจนหายเป็นปกติ) ฯลฯโดย คุณยุรนันท์ ภมรมนตรี ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ PANACEE MEDICAL CENTER หัวเรือใหญ่ของการจัดงานครั้งนี้ได้กล่าวถึงที่มาของการจัดงานในครั้งนี้ว่า “เรื่องของโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง ภัยเงียบที่คร่าชีวิตคนมากเป็นอันดับสองของโลก ที่ในปัจจุบันนี้ถือเป็นว่าวิฤกติของคนทั้งโลกที่เราไม่อยากให้นิ่งนอนใจ ผมจึงถือโอกาส เชิญ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ มาฟังบรรยายเรื่องสุขภาพเกี่ยวกับปัญหาหลอดเลือด ซึ่งเป็นภัยใกล้ตัวมากๆ หลายคนที่อยู่รอบตัวเกิดอาการป่วย หรือเสียชีวิตกันมากขึ้นเรื่อยๆ จนน่าใจหาย จากอาการหลอดเลือดมีปัญหา(ตีบ ตัน แตก) ซึ่งถ้ามีโอกาสรู้ตัวก่อน เราจะป้องกันตัวเองได้ดีก่อนครับ เชื่อว่าความรู้ต่างๆที่ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหลอดเลือด และหัวใจของพานาซี ในวันนี้คงจะทำให้ทุกท่านได้ใส่ใจดูแลตัวเองอย่างดี และถูกต้อง เพื่อชีวิตที่แข็งแรงยืนยาวไปนานๆนะครับ” คุณยุรนันท์กล่าว
ด้าน นพ. สุจิตร์ บัญญัติปิยพจน์ แพทย์ที่ปรึกษาด้านศัลยกรรมโรคหัวใจและหลอดเลือด พานาซี เมดิคอล เซ็นเตอร์ กล่าวว่า “โรคหัวใจ บางคนใช้แค่ความรู้สึกว่าชั้นไม่เป็นไร ซึ่งจริงๆ แล้วเราใช้แค่ความรู้สึกมันไม่พอ เพราะจากสถิติเฉพาะในประเทศไทย ทุก 1 นาทีจะมีคนเสียชีวิตจากโรคหัวใจอย่างน้อย 3 คน ปัญหาของคนเป็นโรคหลอดเลือดโดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดสมอง คือ หลอดเลือดมีการตีบ การแตก หรืออุดตัน ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้ไม่เพียงพอ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจ หรือเนื้อสมองตายจนเกิดความเสียหายแก่ร่างกาย โดยการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจจะลดลงมาก จนถึงจุดที่การทำงานของหัวใจล้มเหลว นำมาสู่อาการหัวใจวายในระยะสุดท้าย อาการที่พบคือ คนไข้จะเหนื่อยมาก เหนื่อยแม้กระทั่งนอนราบก็ยังทำไม่ใด้ ภาษาทางการแพทย์เรียกว่า โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการจากการขาดเลือดในระยะสุดท้าย ซึ่งกลุ่มนี้หากไม่รักษาภายใน 6 เดือนคนไข้ส่วนใหญ่มักจะเสียชีวิตหมด ถ้าเป็นในหลอดเลือดสมองที่ตีบหรือแตก ก็นำไปสู่อาการสโตรก (Stroke) เป็นโรคที่มีความรุนแรง สูงถึงขั้นเสียชีวิต หรือเกิดความพิการระยะยาวจาก อัมพฤกษ์ หรือ อัมพาตได้ ทางพานาซีของเราก็มีวิธีดูแลคนเป็นโรคหัวใจในหลายวิธี อย่างเช่นการใช้เครื่อง ECP เพื่อฟื้นฟูหลอดเลือดทั่วร่างกาย กล้ามเนื้อหัวใจ จนกระทั่งไปถึงการใช้สเต็มเซลล์ในการรักษา ก็สามารถที่จะช่วยชีวิตหรือให้คุณภาพชีวิตของเรากลับมาเหมือนเดิมได้อีกครั้ง” นพ.สุจิตร์ กล่าวนพ.พีรพัฒน์ ต่างใจ ผู้อำนวยการ พานาซี เมดิคอล กรุ๊ป กล่าวว่า “พานาซี ได้เล็งเห็นความสำคัญของวิกฤติโรคที่มาจากหลอดเลือดอย่างมาก เราจะเน้นการป้องกันไม่ให้เกิดโรค เพราะว่า พานาซีอยากให้ป้องกันการเกิด ดีกว่าต้องมาแก้ไขตอนที่ป่วยแล้ว ดังนั้นนวัตกรรมทางการแพทย์ของพานาซี จะมุ่งเน้นดูแลตั้งแต่ผู้ที่ยังไม่ป่วย ในที่นี้รวมไปถึงเรื่องของการเก็บสเต็มเซลล์จากเลือดของตัวเราเอง โดยได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับ รพ.โชนัน คามาคูระ จากญี่ปุ่น เพื่อนำสเต็มเซลล์ที่ได้รับการวิจัยแล้วว่าสามารถนำมารักษาคนที่ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองจนเป็นที่ประจักษ์ พานาซีได้เปิดตัวศูนย์เก็บสเต็มเซลล์จากเลือดที่ยิ่งใหญ่และได้รับมาตรฐานระดับโลก สำหรับผู้ที่ต้องการฝากสเต็มเซลล์เพื่อเก็บรักษาไว้ดูแลรักษาตัวเองในอนาคต สามารถฝากไว้ตั้งแต่เรายังไม่ป่วย หรือในช่วงอายุยังน้อย เพื่อให้สเต็มเซลล์ที่เราเก็บไว้มีคุณภาพสูงสุด” นพ.พีรพัฒน์ กล่าวโดยผู้ที่สนใจเพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง และการเก็บสเต็มเซลล์เพื่อการรักษาโรค สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ line @panacee_TH
www.panacee.com และ www.panaceehospital.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น