สมาคมนิสิตนักศึกษาแพทย์นานาชาติแห่งประเทศไทย(IFMSA-Thailand) จัดเวทีเสวนา “ถกประเด็นบุหรี่ไฟฟ้า” นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ปัจจุบันบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งผิดกฎหมาย แต่ก็มีการลักลอบนำเข้า ซึ่งเด็ก และเยาวชนยังไม่รู้ถึงพิษภัยทำให้หลงผิดเข้าไปทดลองใช้เป็นจำนวนมาก ขณะนี้เยาวชนไทยสูบบุหรี่ไฟฟ้าประมาณ 12.3% และในจำนวนนี้มีกลุ่มนักศึกษาแพทย์ ที่จะกลายเป็นแพทย์ในอนาคต จากการสำรวจในปี 2564 พบว่า มีนักศึกษาแพทย์ที่เสพบุหรี่ไฟฟ้าถึง 3.4% และเสพยาสูบทุกชนิด 4.3% ซึ่งหมายถึงนักศึกษาแพทย์ที่ต้องการเสพนิโคติน 80% จะเลือกได้รับนิโคตินผ่านทางบุหรี่ไฟฟ้า
“นักศึกษาแพทย์ซึ่งจะกลายเป็นแพทย์ต่อไปในอนาคต จำเป็นต้องมีความรู้ไม่เพียงแต่การรักษาพยาบาล แต่รวมถึงการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ในการที่จะช่วยให้คนไม่เป็นโรค และรวมถึงนักศึกษาแพทย์เองก็ต้องปกป้องตัวเองไม่ให้เป็นเหยื่อการตลาดของบุหรี่ไฟฟ้าด้วย ยินดีที่มีส่วนในการสนับสนุนให้สมาคมนิสิตนักศึกษาแพทย์นานาชาติแห่งประเทศไทย ซึ่งมีสมาชิกเป็นนักศึกษาแพทย์จากสถานศึกษาต่าง ๆ ได้เรียนรู้ถึงพิษภัยบุหรี่ไฟฟ้า ที่กำลังรุกคืบหนักทำให้เยาวชนทดลอง และเสพติดนิโคติน ฝากให้นักศึกษาแพทย์ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ช่วยสื่อสารกับเพื่อนนักศึกษาแพทย์ รวมถึงนักศึกษาคณะอื่น รวมถึงนักเรียนในโรงเรียนต่างๆ เพื่อให้สามารถปกป้องตนเอง ไม่หลงไปทดลองใช้บุหรี่ไฟฟ้าโดยไม่รู้ถึงพิษภัย เสพติดสารนิโคติน และสารอันตรายต่อร่างกายที่มาจากบุหรี่ไฟฟ้า” นพ.พงศ์เทพ กล่าว
ผศ.ดร.นพ.วิชช์ เกษมทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า ประชาชนโดยเฉพาะเยาวชนยังมีความรู้เรื่องบุหรี่ไฟฟ้าไม่ถูกต้อง โดยคิดว่าปลอดภัยกว่าบุหรี่มวน บุหรี่ไฟฟ้าส่งผลต่อระบบหายใจ ส่งผลให้ปอดอักเสบ ติดเชื้อง่ายขึ้น 33% เสี่ยงโรคหอบหืดถึง 39% ถุงลมโป่งพอง 69% มีความเข้าใจผิดว่าบุหรี่ไฟฟ้าทำให้เลิกบุหรี่มวน แต่บุหรี่ไฟฟ้าไม่ช่วยเลิกบุหรี่ ยังเป็นประตูนำไปสู่การสูบบุหรี่มวน และสารเสพติดอื่น นอกจากนี้การสูบบุหรี่ไฟฟ้าทำให้เกิดกลุ่มควันฝุ่น PM 2.5 และเกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ผศ.ดร.นพ.วิชช์ เกษมทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า ประชาชนโดยเฉพาะเยาวชนยังมีความรู้เรื่องบุหรี่ไฟฟ้าไม่ถูกต้อง โดยคิดว่าปลอดภัยกว่าบุหรี่มวน บุหรี่ไฟฟ้าส่งผลต่อระบบหายใจ ส่งผลให้ปอดอักเสบ ติดเชื้อง่ายขึ้น 33% เสี่ยงโรคหอบหืดถึง 39% ถุงลมโป่งพอง 69% มีความเข้าใจผิดว่าบุหรี่ไฟฟ้าทำให้เลิกบุหรี่มวน แต่บุหรี่ไฟฟ้าไม่ช่วยเลิกบุหรี่ ยังเป็นประตูนำไปสู่การสูบบุหรี่มวน และสารเสพติดอื่น นอกจากนี้การสูบบุหรี่ไฟฟ้าทำให้เกิดกลุ่มควันฝุ่น PM 2.5 และเกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
“ในปัจจุบันเด็กไทยมีแนวโน้มสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะบุหรี่ไฟฟ้า ที่มีแนวโน้มแพร่หลายในกลุ่มคนอายุน้อยเพิ่มขึ้น บุหรี่ไฟฟ้าทั้งมือหนึ่ง และมือสองมีผลต่อพัฒนาการทางสมองของทารกในครรภ์ ทำให้มีความผิดปกติของระบบประสาท เป็นโรคสมาธิสั้นน้ำหนักแรกเกิดน้อยโดยเฉพาะสมองที่กำลังพัฒนาของเด็ก และเยาวชนอายุถึง 25 ปี ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลงกว่าเด็กที่ไม่เคยสูบ 3-4 เท่า เพราะฉะนั้นนักศึกษาแพทย์ ที่จะเป็นแพทย์ในอนาคตจะต้องมีความตระหนักรู้เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อส่งต่อองค์ความรู้ และป้องกันโทษที่แฝงมากับบุหรี่ไฟฟ้า ภัยร้ายที่ซ่อนเร้น ที่บั่นทอนสุขภาพเด็ก และเยาวชนไทย” ผศ.ดร.นพ.วิชช์ กล่าวนายพชรพรรษ์ ประจวบลาภ เลขาธิการสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า มีความเข้าใจผิดของคนในสังคมไทย โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ให้มีความเข้าใจว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีความปลอดภัยกว่าการใช้บุหรี่มวน เพราะไม่มีการเผาไหม้แบบบุหรี่มวน แต่บุหรี่ไฟฟ้ามีสารประกอบ เช่น นิโคติน กลีเซอรีน และสารทำละลายต่างๆ ส่งผลให้ผู้ใช้งานได้รับสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย และยังมีความเชื่อว่าบุหรี่ไฟฟ้าช่วยทำให้เลิกบุหรี่มวนได้ ในอังกฤษมีการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นเครื่องมือช่วยให้เลิกบุหรี่มวนในการควบคุมดูแลของแพทย์ จากการติดตามผล พบว่าคนสูบบุหรี่มวนมีจำนวนลดลง แต่การใช้บุหรี่ไฟฟ้ามีจำนวนเพิ่มขึ้นแทน ดังนั้นการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นเครื่องมือเลิกบุหรี่ จึงแทบจะเป็นไปไม่ได้ นอกจากนี้มีความเข้าใจผิดถึงความล้าหลังของกฎหมายไทย เมื่อเทียบกับต่างประเทศ ซึ่งความเป็นจริงมีกว่า 30 ประเทศทั่วโลก ที่ห้ามใช้บุหรี่ไฟฟ้า และอีกกว่า 70 ประเทศทั่วโลก มีกฎหมายควบคุมการใช้บุหรี่ไฟฟ้า โดยไทยมีประกาศห้ามใช้บุหรี่ไฟฟ้าตั้งแต่ปี 2557 และ WHO มีประกาศออกมาเมื่อปี 2559
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น