เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้างในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนเป็นต้นมา?
หลายๆประเทศได้ดำเนินมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดตามแนวทางยุทธศาสตร์โควิดเป็นศูนย์ หรือ “Zero Covid” อย่างไรก็ดี เราจะเห็นได้ว่ากลยุทธ์ดังกล่าวอาจใช้ไม่ได้ผลกับไวรัสสายพันธุ์เดลต้าที่แพร่กระจายในเวลาอันรวดเร็วได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม ในทางตรงกันข้ามหลายๆประเทศเช่นอินเดีย แอฟริกาใต้ หรือสหรัฐอเมริกา ที่เคยมีการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ดั้งเดิมจนดูเหมือนจะกลายเป็นโรคประจำท้องถิ่นไปแล้ว ถึงแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อระลอกใหม่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนไม่ต่างกัน แต่สำหรับประเทศเหล่านี้ กลับดูเหมือนว่าสถานการณ์ได้เดินมาถึงจุดสิ้นสุดของการระบาดระลอกนี้แล้ว
ถึงแม้ว่าหลายๆประเทศได้เริ่มกลับมาเปิดประเทศและฟื้นฟูเศรษฐกิจเพื่อให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ แต่การเดินทางเคลื่อนย้าย รวมถึงการรวมกลุ่มทางสังคงยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าช่วงก่อนเดือนมีนาคม 2563 เนื่องจากการเคลื่อนย้าย และการเข้าสังคมมีผลกระทบต่อต่อการแพร่กระจายของไวรัส
จากการสำรวจข้อมูลทางสถิติของเราเผยให้เห็นถึงความกลัวต่อโรคโควิด-19 ของผู้คนในสหรัฐอเมริกาในปัจจุบันที่เพิ่มขึ้นเป็น 55% จาก 35% ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เห็นได้ชัดว่าสิ่งนี้จะส่งผลกระทบต่อการเปิดให้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามปกติอย่างแน่นอน เนื่องจากผู้คนยังคงหลีกเลี่ยงการเข้าสังคมอย่างเต็มรูปแบบ อย่างไรก็ตาม ระดับความหวาดกลัวดังกล่าวน่าจะลดลงตามจำนวนตัวเลขผู้ติดเชื้อ
แนวโน้มอะไรบ้างในสหราชอาณาจักรที่อาจเกิดซ้ำในสหรัฐอเมริกาช่วงฤดูใบไม้ร่วงนี้?
สหราชอาณาจักรถือเป็นประเทศแรกที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสายพันธุ์เดลต้า จึงเป็นกรณีศึกษาให้แก่ประเทศอื่นๆ เกี่ยวกับการแพร่กระจายของไวรัสสายพันธุ์เดลต้าในช่วงที่ประเทศกำลังทำการฉีดวัคซีนให้ประชาชนอย่างต่อเนื่อง
ในสหราชอาณาจักรจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นสูงสุดในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม ซึ่งผู้คนรวมตัวกันตามผับหรือบ้านเรือนเพื่อชมการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2563 ก่อนหน้านี้ในสกอตแลนด์ก็มีการพบจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเช่นกันก่อนที่ทีมชาติสกอตแลนด์จะตกรอบแรกของการแข่งขัน
แม้ว่าการระบาดในระลอกนี้จะดูดีขึ้นแล้ว แต่ก็ได้สร้างความกังวลต่อนักสร้างแบบจำลองทางระบาดวิทยาและรัฐบาลไม่น้อย ซึ่งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นคล้ายๆกันของทั้งสองประเทศก็ช่วยให้นักสร้างแบบจำลองทางระบาดวิทยาเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของไวรัสมากขึ้น
เนื่องจากการแข่งขันอเมริกันฟุตบอลซีซั่นใหม่และการอนุญาตให้เข้าชมในสนามเต็มจำนวนที่นั่งที่กำลังจะเกิดขึ้น ทำให้คาดการณ์ได้ว่าอาจนำไปสู่การแพร่ระบาดและการเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่
เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว รัฐบาลของทั้งสองฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกจะกำหนดมาตรการใหม่ของโรคโควิด-19 หรือไม่?
เนื่องจากจำนวนยอดผู้ติดเชื้อในสหรัฐอเมริกากำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงดูเหมือนว่าทางการกำลังจะเดินทางไปสู่มาตรการที่ผ่อนคลายลง
แม้ว่าอัตราการติดเชื้อจะแตกต่างกันไป แต่โดยภาพรวมแล้วเราคาดว่ายอดผู้ติดเชื้อใหม่ในสหรัฐอเมริกาจะเริ่มลดลงเนื่องจากจำนวนผู้ที่ติดเชื้อไปแล้วค่อนข้างมาก ประกอบการกับฉีดวัคซีนที่เพิ่มขึ้น ทำให้การติดเชื้อเป็นไปได้ยากขึ้น เช่นเดียวกับ บราซิล ซึ่งมีจำนวนผู้ที่ติดเชื้อและเสียชีวิตไปแล้วเป็นจำนวนมาก ประกอบกับอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้น ทำให้ผู้คนแทบจะกลับมาใช้ชีวิตแบบปกติและมีมาตรการควบคุมเพียงเล็กน้อย
ในปีที่แล้วมาตรการล็อกดาวน์ถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะผู้คนยังไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคโควิด-19 อย่างไรก็ตาม ด้วยจำนวนของประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนและภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติจากการติดเชื้อครั้งก่อนเป็นจำนวนมาก จึงคาดว่าไม่น่าจะเกิดเหตุการณ์ที่ระบบสาธารณสุขจะรับมือไม่ไหวอย่างที่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
ในช่วงฤดูหนาว เราอาจเห็นจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นและเกิดความตึงเครียดภายในโรงพยาบาล แต่การเข้าสังคมและการพบปะสังสรรค์ที่น้อยลงจากที่เราเห็นในปัจจุบันนี้จะช่วยชะลอจำนวนผู้ติดเชื้อลง
เราคาดว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศมีผลกระทบต่อการแพร่ระบาด เช่น กรณียอดผู้ติดเชื้อที่มีจำนวนลงลดอย่างมากในรัฐทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกาบางแห่ง อาทิ ลุยเซียนาและฟลอริดา แต่ในทางกลับกัน ยอดการติดเชื้อนั้นเริ่มเพิ่มขึ้นในรัฐเวสต์เวอร์จิเนียและเพนซิลเวเนีย
โรคโควิด-19 ถือเป็นไวรัสที่แพร่ระบาดในอากาศ และจะสามารถกระจายได้ดีที่สุดเมื่อผู้คนหายใจโดยใช้อากาศร่วมกัน ในฤดูร้อนทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกานั้นร้อนมากจนผู้คนเลือกที่จะสังสรรค์ภายในบ้านพร้อมกับการเปิดเครื่องปรับอากาศ ทำให้การแพร่กระจายในครัวเรือนเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น แต่ในฤดูที่มีอากาศเย็นลง ทำให้ผู้คนก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตกลางแจ้งได้มากขึ้น ในทางตรงกันข้าม รัฐทางตอนเหนือของสหรัฐอเมริกาจะเป็นพื้นที่ที่มีอุณหภูมิค่อนข้างหนาวเย็นมากจนทำให้ผู้คนหลีกเลี่ยงการออกนอกบ้าน แต่เลือกที่จะพบปะกันภายในบ้านมากขึ้น จึงพบจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นหรือลดลงช้ากว่าเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น
การฟื้นตัวหลังโรคระบาดได้เพิ่มอำนาจต่อรองของแรงงานอย่างไร?
ความเสี่ยงจากการกลายพันธุ์ของไวรัสเพิ่มเติมจากที่เราเห็นในสายพันธุ์อัลฟ่า และสายพันธุ์เดลต้าคืออะไร?
ความเสี่ยงดังกล่าวนั้นยากที่จะวัดออกมาเป็นตัวเลข แต่เชื้อจะกลายพันธุ์ต่อเมื่ออยู่ในร่างกายมนุษย์ จึงถือเป็นความเสี่ยงที่จะมีการติดเชื้อที่สูงในพื้นที่ที่มีประชากรจำนวนมาก เนื่องจากไวรัสมีโอกาสที่จะกลายพันธุ์มากขึ้น ดังนั้น เราจึงไม่สามารถทราบได้ว่าจะมีไวรัสสายพันธุ์อื่นที่เหนือกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้านี้เกิดขึ้นหรือไม่ แต่ความเสี่ยงนั้นยังถือว่าอยู่ในระดับสูง
วัคซีนบูสเตอร์มีความจำเป็นในการทำให้สถานการณ์ของสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรกลับคืนสู่ปกติหรือไม่?
แม้ว่าจะมีหลักฐานบ่งบอกถึงปริมาณภูมิคุ้มกันที่ลดลงหลังได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วนแล้ว แต่ยังถือว่าเป็นแอนติบอดี "ด่านหน้า" ของภูมิคุ้มกัน
ในขณะเดียวกัน เนื่องจาก T-Cells และ B-Cells สามารถจดจำวิธีการสร้างแอนติบอดีเพื่อต่อสู้กับไวรัสได้ การรับวัคซีนจึงช่วยป้องกันการเสียชีวิตของผู้คนส่วนใหญ่ได้ แม้หลังจากการรับวัคซีนมาแล้วเป็นระยะเวลานานก็ตาม
หนึ่งในกรณีเปรียบเทียบที่ชัดเจน คือการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าต้องฉีดวัคซีนครบ 3 โดสเพื่อป้องกันการติดเชื้ออย่างเต็มที่ ในส่วนของสายพันธุ์เดลต้าดูเหมือนว่าจะมีความคล้ายคลึงกับไวรัสตับอักเสบบี โดยต้องการการฉีดวัคซีนให้ครบสามเข็มเพื่อให้การป้องยังคงอยู่ได้ในระยะยาว อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติตามแนวทางนี้ทำให้เกิดปัญหาด้านจริยธรรม เนื่องจาก ในขณะนี้ประเทศที่กำลังพัฒนาส่วนใหญ่ยังมีอัตราการฉีดวัคซีนที่ต่ำและไม่เพียงพอ และมีข้อโต้แย้งว่าควรจัดสรรวัคซีนให้ผู้ที่ยังไม่เคยฉีดวัคซีนให้ครบ ก่อนที่จะใช้เป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกันโดสที่สาม อย่างไรก็ตาม รัฐบาลอาจจำเป็นต้องมอบวัคซีนเข็มที่สามให้แก่ประชาชนเพื่อเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด
ในแง่ของภาวะปกติก่อนเกิดโรคระบาด ในระยะยาวหลายประเทศอาจจำเป็นต้องเพิ่มความสามารถในการรับคนไข้ในโรงพยาบาล เพื่อเป็นการรับมือกับคลื่นฤดูหนาวของทั้งโควิด-19 และไข้หวัดใหญ่พร้อมกัน
ความก้าวหน้าของโครงการวัคซีนในระบบเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่จะเป็นอย่างไร?
จะเกิดอะไรขึ้นกับประเทศที่ดำเนินการตามแนวทางยุทธศาสตร์ Zero-Covid?
มีสองแนวทางในการหยุดยั้งการคุกคามจากไวรัสอย่างโรคโควิด-19 วิธีที่หนึ่งคือ การทำให้ไม่มียอดผู้ติดเชื้อหลงเหลืออยู่ภายในประเทศ และวิธีที่สองคือ การมีภูมิคุ้มกันที่เพียงพอที่จะควบคุมไวรัสจนไม่มีผลกระทบต่อระบบสาธารณสุข อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ในวิธีแรกจำเป็นที่จะต้องมีการปิดประเทศ หรือปิดพรมแดนเพื่อเป็นการป้องกันไวรัส และคงไม่ใช่กลยุทธ์ที่จะสามารถใช้ได้ตลอดไป ดังนั้น ยุทธศาสตร์สำหรับแก้ไขปัญหาจากการแพร่ระบาดใหญ่ของโควิด-19 คือการมีภูมิคุ้มกัน มิเช่นนั้นประเทศดังกล่าว อาจจะถูกตัดขาดจากส่วนอื่นๆ ของโลกไปตลอดกาล
ประเทศที่ดำเนินการตามแนวทางยุทธศาสตร์ Zero Covid ถือว่ากำลังตกอยู่ในช่วงเวลาที่ลำบากทั้งในด้านวัฒนธรรมและการบริหารจัดการ เนื่องจากประเทศเหล่านี้พยายามที่จะเปิดประเทศอีกครั้ง ในขณะที่ยังไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ตามธรรมชาติและจะต้องพึ่งพาความสามารถของวัคซีนเพียงอย่างเดียว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น