แพทย์จุฬาฯ จับมือ กรมราชทัณฑ์ ลงนามบันทึกความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เพื่อการพัฒนาสุขภาพผู้ต้องขัง - Wellness Times News

Breaking

Home Top Ad

POST TOP AD

วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2564

แพทย์จุฬาฯ จับมือ กรมราชทัณฑ์ ลงนามบันทึกความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เพื่อการพัฒนาสุขภาพผู้ต้องขัง

รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วย นายอายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม และ อ.นพ.อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง หัวหน้าโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เพื่อการพัฒนาสุขภาพผู้ต้องขัง ร่วมกันลงนามบันทึกความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เพื่อการพัฒนาสุขภาพผู้ต้องขัง ระหว่าง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม โดยมี นายวีระกิตติ์ หาญปริพรรณ์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม และ ศ.นพ.รังสรรค์ ฤกษ์นิมิตร ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์และประกอบการ เข้าร่วมพิธี ในโอกาสนี้ ผศ.ดร.นพ.อมรพันธุ์ เสรีมาศพันธุ์ รองผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ดำเนินรายการ ถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ แฟนเพจ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องเธียเตอร์ อาคารหอสมุด คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ กล่าวว่า ความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสุขภาพผู้ต้องขัง ระหว่าง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อการบูรณาการด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม โดยการส่งเสริมด้านวิชาการ การวิจัยและพัฒนา การสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างบุคลากรทั้งสองฝ่าย รวมถึงการส่งเสริมการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมของโครงการที่เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือนี้ไปสู่การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาของประเทศร่วมกันความร่วมมือนี้ ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เริ่มจากการศึกษาวิจัย พัฒนา และทดสอบประสิทธิภาพสมุนไพรไทย และตัวชี้วัดระดับโมเลกุลในการวิจัยทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อโรคโควิด-19 ในกรมราชทัณฑ์ และการพัฒนานวัตกรรมไบโอชิพเพื่อการตรวจวินิจฉัยยืนยันโรคและแยกสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ไม่ได้จำกัดการระบาดอยู่เพียงแค่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง แต่สามารถพบผู้ติดเชื้อได้ในทุกพื้นที่ รวมถึงเรือนจำและทัณฑสถานซึ่งพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เป็นจำนวนมาก จึงได้เกิดแนวทางความร่วมมือในการนำองค์ความรู้ทางการแพทย์ไปช่วยในการจัดการการรักษา 
ขณะเดียวกัน คณะผู้วิจัยได้เล็งเห็นว่าการศึกษาในด้านประสิทธิภาพของการใช้สมุนไพรไทยในการรักษาภายในเรือนจำและทัณฑสถานจะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาโรคโควิด-19 อันจะนำไปสู่การส่งเสริมการเพาะปลูกสมุนไพรไทยในเรือนจำและทัณฑสถาน เพื่อนำมาผลิตเป็นยาต่อไป สอดคล้องกับนโยบายของกรมราชทัณฑ์ที่ส่งเสริมการเพาะปลูกพืชสมุนไพรไทย เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาและลดภาระการพึ่งพายาแผนปัจจุบันในการป้องกัน รักษา และบรรเทาอาการเจ็บป่วยจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในกลุ่มผู้ป่วยไม่แสดงอาการ หรืออาการไม่รุนแรงของผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถาน นำร่องโดยการปลูกพืชสมุนไพร “ฟ้าทะลายโจร” ในเรือนจำและทัณฑสถานอย่างไรก็ตาม มีแนวทางการรักษาด้วยสมุนไพรชนิดอื่นๆ และยานวัตกรรมใหม่ๆ ที่สามารถพัฒนาขึ้นมาเพิ่มเติมอีกหลายขนาน ทางศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้คัดเลือกแนวทางการรักษาที่ปลอดภัย มีข้อมูลงานวิจัยสนับสนุนว่าน่าจะใช้ในการรักษาโรคโควิด-19 ได้ และสามารถผลิตได้อย่างพอเพียงภายในประเทศ เพื่อพัฒนาขึ้นเป็นทางเลือกในการรักษาโรคโควิด-19 ต่อไป 

ทางด้าน อ.นพ.อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง เผยว่า โครงการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย 2 โครงการย่อย ได้แก่ โครงการพัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพของพืชสมุนไพรไทย และตัวชี้วัดระดับโมเลกุลในการวิจัยทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ในกรมราชทัณฑ์ โดยโครงการแรกมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของพืชสมุนไพรไทยในการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 เนื่องจากปัจจุบันยาที่ใช้ในการรักษาโรคโควิด-19 นั้น ยังค่อนข้างจำกัด จึงนำมาสู่แนวคิดในการศึกษาประสิทธิภาพของยาตัวใหม่ที่สามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคโควิด-19 ได้อีกหนึ่งโครงการภายใต้ความร่วมมือนี้ คือ โครงการพัฒนานวัตกรรมไบโอชิพเพื่อการตรวจวินิจฉัยยืนยันโรคและแยกสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 เนื่องจากปัจจุบันการจะตรวจหาสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 จำเป็นต้องตรวจด้วยกระบวนการถอดรหัสยีน (Gene Sequencing) ซึ่งมีความยุ่งยากซับซ้อน และมีราคาแพง ทำให้การตรวจทำได้ในปริมาณที่จำกัด ต้องใช้การสุ่มตรวจไม่สามารถนำมาตรวจผู้ป่วยทุกรายได้ ในขณะที่การตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR ที่ใช้ในปัจจุบันสามารถตรวจหาเชื้อได้ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นสายพันธุ์ใด

การพัฒนานวัตกรรมไบโอชิพ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดตรวจเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้มีความแม่นยำสูงและรวดเร็ว สามารถตรวจวินิจฉัยและแยกสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้อย่างมีคุณภาพ และได้มาตรฐานในคราวเดียวกัน รวมทั้งราคาในการตรวจวินิจฉัยลดลงอย่างน้อย 10 เท่า และรองรับการตรวจหาสายพันธุ์ใหม่ที่อาจจะเกิดในอนาคต

นายอายุตม์ สินธพพันธุ์ กล่าวว่า ในนามของกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม ขอขอบคุณ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน ที่เห็นถึงความสาคัญของการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสุขภาพผู้ต้องขัง โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 เป็นต้นมา กรมราชทัณฑ์ได้เผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จนถึงปัจจุบัน มีเรือนจำทัณฑสถาน จานวน 120 แห่ง พบการติดเชื้อทั้งจากห้องกักโรคซึ่งใช้รับตัวผู้ต้องขังเข้าใหม่ทุกวัน และการติดเชื้อภายในเรือนจำ


กรมราชทัณฑ์ ได้จัดตั้งศูนย์บัญชาการและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 กรมราชทัณฑ์ หรือ ศบค.รท.ขึ้น เพื่อรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ทั้งสาเหตุการแพร่ระบาด จำนวนผู้ติดเชื้อ แนวทางการป้องกันการแพร่ระบาด รวมทั้งแนวทางในการให้การรักษาผู้ติดเชื้อ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น


ประกอบกับได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก เช่น โรงพยาบาลแม่ข่าย สำนักงานสาธารณสุขในเขตพื้นที่ นอกจากนี้ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ในโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ พระราชทานเครื่องเอกซเรย์ (Port Table) และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นให้กับ กรมราชทัณฑ์


ในการบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ กรมราชทัณฑ์ มุ่งเน้นการป้องกันเชื้อเข้าภายในเรือนจำ โดยหากพบการติดเชื้อให้รักษาเต็มที่ ไม่ให้เสียชีวิต และ ไม่ปล่อยให้ผู้ที่ยังติดเชื้อออกไปสู่สังคม ทั้งนี้ กรมราชทัณฑ์ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การเริ่มต้นในวันนี้ จะนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ด้านอื่นๆ ต่อไป



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad